หน้า 1 จากทั้งหมด 1

ทานอาหารเสริมบํารุงกระดูกช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุนได้จริงหรือ

โพสต์โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.ย. 25, 2017 6:53 am
โดย yimm.yimm
โรคกระดูกพรุน อีกหนึ่งโรคที่เป็นภัยเงียบภายในร่างกาย ยังมีอีกหลายๆคนเชื่อว่า โรคนี้เพียงแค่ทานอาหารประเภทแคลเซียมเข้าไปก็ซ่อมแซมกระดูกได้แล้ว หลายๆท่านเลือกอาหารเสริมบํารุงกระดูกโดยการ “ดื่มนม” เพราะคิดว่าน่าจะเพียงพอต่อการเสริมสร้างและซ่อมแซมกระดูก แต่แท้จริงแล้วร่างกายของคนเราต้องการแคลเซียมในปริมาณที่เหมาะสม การเลือกทานแคลเซียมปริมาณมากหรือน้อยจนเกินไป จึงไม่ใช่วิธีที่ถูกต้องในการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ ก่อนอื่นเรามาดูปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคกระดูกพรุนกันดีกว่า

รูปภาพ

*ดื่มแอลกอฮอล์อยู่เป็นประจำ : แอลกอฮอล์อีกหนึ่งตัวขัดขวางการดูดซึมแคลเซียมในระบบทางเดินอาหาร ส่งผลกระทบต่อตับในการกระตุ้นวิตามินดีที่มีบทบาทสำคัญในดูดซึมแคลเซียม
*เครื่องดื่มที่มีสารคาเฟอีน : ชา กาแฟ ช็อกโกแลต ร่างกายจะขับแคลเซียมออกเป็นจำนวนมาก
*น้ำอัดลม : ในเครี่องดื่มประเภทน้ำอัดลมจะมีกรดที่ชื่อว่า "กรดฟอสฟอริก" ที่เราเห็นกันเป็นฟองฟู่นั้น เกิดจากการผสมระหว่าง กรดฟอสฟอรัสกับกรดกำมะถัน (โดยปกติแคลเซียมในร่างกายจะต้องทำงานร่วมกับเกลือแร่อื่นโดยเฉพาะฟอสฟอรัส ในภาวะปกติ ร่างกายจะต้องพยายามรักษาสัดส่วนของแคลเซียมและฟอสฟอรัส 2:1 หากฟอสฟอรัสมากเกินไป ร่างกายก็จำเป็นต้องสลายแคลเซียมออกจากคลังกระดูก เพื่อป้องกันไม่ให้ฟอสฟอรัสสูงเกินไปจนส่งผลอันตรายต่อชีวิต) ฟอสฟอรัสมากในเนื้อสัตว์ นมและเนย
*เกลือ : ควรบริโภคในปริมาณที่เหมาะสม หากมากเกินไปจะทำให้แคลเซียมสลายตัว
*ทานยาเคลือบกระเพาะอยู่เป็นประจำ : โดยทั่วไปยาชนิดนี้มีส่วนผสมของอะลูมิเนียม ซึ่งเร่งให้ร่างกายขับแคลเซียม การทานยาเคลือบกระเพาะเป็นเวลานานๆจึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ

สำหรับใครที่กำลังมองหาแคลเซียมเสริมไว้ทานเอง อาหารเสริมบํารุงกระดูกให้ผู้สูงอายุในครอบครัว แนะนำแคลเซียม แอล ทรีโอเนต อีกหนึ่งแคลเซียมชนิดละลายน้ำได้ดีมาก สามารถดูดซึมเข้าร่างกายได้เกือบ 100% ซึ่งจะแตกต่างกับเจ้าแคลเซียม คาร์บอเนต ละลายน้ำได้ไม่ดีเท่าที่ควร และการดูดซึมเข้าร่างกายเพียง 15% แต่มักพบเห็นตามท้องตลาด ซึ่งโดยทั่วไปคนเราต้องการแคลเซียมประมาณ 1,000 - 1,500 มิลลิกรัม/วัน เพราะฉะนั้น การป้องกันการเกิดกระดูกพรุนที่ถูกต้องจึงควรทานแคลเซียมในปริมาณที่เหมาะสม ไปพร้อมๆกับการงดเว้นปัจจัยเสี่ยงที่กล่าวไว้ข้างต้น สำหรับใครที่กำลังสงสัยเกี่ยวกับโรคกระดูกพรุน ต้องการปรึกษาเพิ่มเติมสามารถเข้ามาพูดคุยเพิ่มเติมได้ที่ https://www.facebook.com/CAL-T-872106819604543/
Line@ : https://line.me/R/ti/p/%40cal-t