ครัวไกลบ้านได้ทำการปรังปรุงเวบไซต์ให้ใช้งานได้ง่ายขึ้นในระบบสมาร์ทโฟน และได้รวมข้อมูลเมนูอาหารและ สมาชิกจากทั้งเวบไซต์เก่าและใหม่เสร็จเรียบร้อยแล้ว

สมาชิกท่านไหนมีปัญหาไม่สามารถล็อกอินได้ ให้ทำการเปลี่ยนพาสเวิร์ดโดยคลิ๊กลิ้งค์นี้ ลืมรหัสผ่าน
ถ้าท่านใดมีชื่อสมาชิกมากกว่าหนึ่งชื่อแล้วต้องการรวมโพสทั้งหมดให้อยู่ในชื่อสมาชิกเดียว หรือมีปัญหาในการใช้เวบไซต์
สามารถส่งอีเมล์แจ้งรายละเอียดมาได้ที่ admin@kruaklaibaan.com หรือส่งข้อความได้ที่ user: sillyfooks

ถ้าชอบครัวไกลบ้าน อย่าลืมคลิ๊กไลค์เฟสบุ๊คให้ครัวไกลบ้านด้วยนะคะ ขอบคุณค่ะ

กินต้าน "เมตาบอลิกซินโดรม" มหันตภัยเงียบของสุขภาพ

ห้องนี้สำหรับสมาชิกพูดคุย ปรึกษาปัญหาเรื่องสุขภาพค่ะ

โพสต์โดย Anne_in_Holland » เสาร์ ก.พ. 20, 2010 8:02 pm

<span style='color:blue'>เมตาบอลิกซินโดรมหรือเดิมเรียกกันว่า ซินโดรมเอ็กซ์ (Sydrome X) กำลังเป็นโรคระบาดไปทั่วโลก เป็นโรคที่ได้รับสมญาว่า "นักฆ่าเงียบ"เพราะเป็นความเสี่ยงสำคัญของโรคหลอดเลือดหัวใจและเบาหวานและยังรวมไปถึงปัญหาสุขภาพอื่นๆอีกมากมายรวมทั้งความจำเสื่อมและมะเร็งบางชนิด จึงได้รับความสนใจจากนักวิจัยและผู ้เชี่ยวชาญที่จะวางมาตรการป้องกันควบคู่ไปกับการป้องกันโรคเบาหวาน</span>

เมตาบอลิกซินโดรมคืออะไร ใครบ้างที่เสี่ยง

เมตาบอลิกซินโดรมเป็นกลุ่มอาการของความผิดปรกติที่เกิดขึ้นจากกระบวนการที่ร่างกายเราใช้อาหารเป็นพลังงาน หรือกระบวนการเผาผลาญอาหาร (เมตาบอลิซึม) นั่นเอง คนที่มีความเสี่ยงต่อโรคเมตาบอลิกซินโดรมคือคนที่มีเส้นรอบเอวใหญ่หรือลงพุง เมื่อเร็วๆ นี้สมาพันธ์เบาหวานนานาชาติได้กำหนดเกณฑ์การตัดสินเมตาบอลิกซินโดรมดังนี้
- สำหรับคนเอเชีย (ยกเว้นญี่ปุ่น) ชายมีเส้นรอบเอวตั้งแต่ 90 ซม. และหญิงตั้งแต่ 80 ซม.ขึ้นไป ร่วมกับความผิดปรกติต่อไปนี้ตั้งแต่ 2 ข้อขึ้นไป
- ความดันโลหิต > 130/85 มม.ปรอท หรือ กินยาลดความดันอยู่แล้ว
- เอชดีแอลคอเลสเทอรอล < 40 มก./ดล สำหรับผู้ชาย และ < 50 มก./ดล สำหรับผู้หญิง
- ไตรกลีเซอไรด์สูง >150 มก./ดล.
- ระดับน้ำตาลเริ่มสูง แต่ยังไม่ถึงกับเป็นเบาหวานคือ > 100 มก./ดล. หรือคนเป็นเบาหวานอยู่แล้ว

ความดื้อต่ออินซูลินเป็นกุญแจสำคัญของโรค

ผู้เชี่ยวชาญยังไม่ทราบสาเหตุุชัดเจนของการเกิด แต่เชื่อว่ากุญแจสำคัญคือ ความดื้อต่ออินซูลินซึ่งเป็นสาเหตุุของเบาหวานประเภท 2 ด้วยเช่นกัน เมื่อร่างกายมีความดื้อต่ออินซูลิน (ฮอร์โมนที่นำน้ำตาลในเลือดที่มาจากการย่อยอาหารเข้าสู่เซลล์ เพื่อจัดการเปลี่ยนเป็นพลังงาน) ประสิทธิภาพการทำงานของอินซูลินลดลง ทำให้น้ำตาลในเลือดเข้าสู่เซลล์ไม่ได้ ระดับน้ำตาลในเลือดก็จะสูงขึ้น นานวันเข้าก็จะกลายเป็นเบาหวานได้ ดังนั้นเมตาบอลิกซินโดรมจึงมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า อาการดื้อต่ออินซูลิน

รูปภาพ


สิ่งที่น่าเป็นห่วงก็คือ โรคนี้มีสายใยพัวพันกับความผิดปรกติ 2 ประการที่เพิ่มความเสี่ยงโรคหลอดเลือด นั่นก็คือการเกิดการอับเสบในหลอดเลือด ซึ่งประเมินได้โดยการตรวจค่า ซี-รีแอคทีฟโปรตีน (C-reactive protein) หรือเรียกย่อ ๆ ว่า ซีอาร์พี (CRP) ซึ่งจะมีระดับสูงกว่าปรกติ และอีกความผิดปรกติคือ การที่เลือดแข็งตัวง่าย ซึ่งการทดสอบยังไม่แพร่หลาย ฉะนั้นผู้เชี่ยวชาญแนะว่าถ้าเส้นรอบเอวเกินอัตราเมื่อไรก็ควรตรวจอาการอื่น ๆ ที่กล่าวมาแล้วรวมทั้ง ซีอาร์พี ด้วย

วิธีรับมือกับเบตาบอลิกซินโดรม

ข่าวดีก็คือถ้ามีเพียงเมตาบอลิกซินโดรมยังมีโอกาสบำบัดให้เป็นปรกติได้ ถ้ารีบทำการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน และออกกำลังกาย นอกจากนี้ยังอาจใช้ยาเบาหวาน ที่ชื่อว่า Metformin (Glucophage) ช่วยในการรักษา แต่ข้อมูลการวิจัยชี้ชัดว่าการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ผลดีกว่าการใช้ยาในการป้องกันเมตาบอลิกซินโดรม หรือขจัดโรคให้คืนสู่ภาวะปรกติ

สูตรง่ายๆ ที่ผู้เชี่ยวชาญแนะนำคือลดน้ำหนักลงมาเพียง 7% เพิ่มการเคลื่อนไหวร่างกาย เช่นเดินเร็ว 150 นาทีขึ้นไป ทุก ๆ สัปดาห์ ก็จะช่วยรักษาโรคนี้ได้แน่นอน

การออกกำลังกายเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการควบคุมโรคนี้ การออกกำลังกายชนิดแอโรบิกแบบสะสมให้ได้วันละ 30 นาที ไม่ว่าจะเป็นการเดินเร็ว ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 5 วัน หรือจะทำทีเดียววันละ 30 นาที หรือแบ่งทำวันละ 2-3 ครั้ง รวมแล้วให้ได้วันละ 30 นาทีก็ให้ผลในการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ และเบาหวานได้แม้น้ำหนักยังไม่ลดก็ตาม การออกกำลังกายช่วยป้องกันการเพิ่มน้ำหนักตัวและช่วยให้เซลล์ใช้ฮอร์โมนอินซูลินอย่างมีประสิทธิภาพ

อาหารป้องกันเมตาบอลิกซินโดรม

ไม่มีอาหารเฉพาะเจาะจงสำหรับเมตาบอลิกซินโดรม เนื่องจากปริมาณคาร์โบไฮเดรตกำหนดความต้องการฮอร์โมนอินซูลิน นักวิจัยจึงเห็นว่าการควบคุมปริมาณและคุณภาพของคาร์โบไฮเดรตเป็นกุญแจสำคัญในการป้องกันหรือขจัดเมตาบอลิกซินโดรม


ปริมาณอาหารที่แนะนำให้กินเพื่อป้องกันเมตาบอลิกซินโดรม มีดังนี้ คาร์โบไฮเดรต 40-50% ของพลังงานต้องมาจากธัญพืชไม่ขัดสี ผลไม้และผัก อีก 40% ของพลังงานมาจากไขมันจากพืชและปลา (เช่นน้ำมันมะกอก ถั่วเหลือง ดอกทานตะวัน และน้ำมันปลา) ที่เหลือ 10-20 %มาจากโปรตีนไขมันต่ำ (เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน อาหารทะเล ผลิตภัณฑ์นมไขมันต่ำ และผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง) อาหารที่รับประทานถ้ามีโปรตีนและไขมันในจะช่วยให้ระดับน้ำไม่สูง ช่วยให้องค์ประกอบของอาหารดีขึ้น เพิ่มความรู้สึกอิ่มและเพิ่มรสชาติให้อาหาร นอกจากมีข้อแนะนำอื่นดังนี้

<span style='color:green'>•กินอาหารมื้อเล็กๆ หลายมื้อ จะช่วยควบคุมความหิวได้ดีขึ้น
•ห้ามงดอาหารมื้อใดมื้อหนึ่ง โดยเฉพาะมื้อเช้า
•เลือกคาร์โบไฮเดรตไม่ขัดสี เช่น ข้าวซ้อมมือ ข้าวโพด ลูกเดือย ฟักทอง เผือก มัน ขนมปังโฮลวีท ผักและผลไม้
•เลือกไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียว เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันถั่วลิสง น้ำมันรำข้าว ถั่วเปลือกแข็ง เมล็ดพืชต่าง ๆ เช่น เมล็ดดอกทานตะวัน
•เพิ่มกรดโอเมก้า 3 จากปลาทะเล วอลนัท และแฟลกสีด
•จำกัดอาหารฟาส์ตฟู้ด และคาร์โบไฮเดรตขัดสี เช่น ขนมปังขาว ข้าวขัดขาว น้ำตาล</span>

เมตาบอลิกซินโดรมเป็นกลุ่มอาการที่นำไปสู่ปัญหาสุขภาพมากมาย แต่ก็สามารถป้องกันหรือแก้ไขได้ด้วยอาหารที่ลดปริมาณคาร์โบไฮเดรตลงและการออกกำลังร่วมกับการลดน้ำหนัก อย่าปล่อยให้อ้วนลงพุง จะช่วยลดโอกาสเกิดโรคหัวใจวาย เส้นเลือดสมองตีบ และเบาหวาน ฉะนั้นทุกครั้งที่ตรวจสุขภาพอย่าลืมประเมินความเสี่ยงว่าโรคเมตาบอลิกซินโดรมมาเยือนแล้วหรือยังด้วยนะคะ
<img src="http://i556.photobucket.com/albums/ss6/Thidarat_anne/beachRunner2-1.jpg" height=200><br><a href='http://www.newsamplepack.com/firm' target='_blank'>ไม่ต้องอด ไม่ต้องลด ให้ทรมาน แต่กินให้พอดีแล้วผอมจริง ทำอย่างไร...ไม่ยาก สั่งชุดทดลองที่นี่ จัดส่งทั่วโลกค่ะ</a>
ภาพประจำตัวสมาชิก
Anne_in_Holland
แม่ไข่ดาว พ่อไข่เจียว
 
โพสต์: 418
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ก.ค. 13, 2009 11:14 am

โพสต์โดย pensij » จันทร์ ก.พ. 22, 2010 9:52 pm

ขอบคุณสำหรับข้อมูลนะคะ ดีจริงๆๆเลยค่ะ
ภาพประจำตัวสมาชิก
pensij
แม่ไข่ดาว พ่อไข่เจียว
 
โพสต์: 546
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ พ.ค. 19, 2008 10:11 pm

โพสต์โดย beem » อังคาร ก.พ. 23, 2010 6:36 pm

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดี ๆ นะคะ
ภาพประจำตัวสมาชิก
beem
แม่ไข่ดาว พ่อไข่เจียว
 
โพสต์: 356
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ต.ค. 09, 2009 1:46 pm

โพสต์โดย Anne_in_Holland » อังคาร ก.พ. 23, 2010 10:07 pm

ยินดีค่ะ

เด่วนี้ เด็กไทย ก้อเริ่มเป็นโรคนี้กันเยอะเลยค่ะ คือ น้ำหนักตัวเกินกว่าเกณฑ์ เพราะค่านิยม ทานอาหารแบบสมัยใหม่ และความเร่งรีบในการใช้ชีวิต อาหารสำเร็จ และอาหารพลังงานสูง จึงเข้ามาเกี่ยวข้องกับคนไทยและเด็กไทยมากมายเลยค่ะ

มาเริ่มดูแลสุขภาพ กัน จากครอบครัวของเราดีกว่าจ้า..
<img src="http://i556.photobucket.com/albums/ss6/Thidarat_anne/beachRunner2-1.jpg" height=200><br><a href='http://www.newsamplepack.com/firm' target='_blank'>ไม่ต้องอด ไม่ต้องลด ให้ทรมาน แต่กินให้พอดีแล้วผอมจริง ทำอย่างไร...ไม่ยาก สั่งชุดทดลองที่นี่ จัดส่งทั่วโลกค่ะ</a>
ภาพประจำตัวสมาชิก
Anne_in_Holland
แม่ไข่ดาว พ่อไข่เจียว
 
โพสต์: 418
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ก.ค. 13, 2009 11:14 am


ย้อนกลับไปยัง คลีนิคชาวครัว

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน